วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์รับข้อมูล


อุปกรณ์รับข้อมูล

 

     การ รับข้อมูล  (Input)  หมายถึง  กระบวนการป้อนข้อมูล  คำสั่ง  โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้คำว่า  input  ยังหมายถึง  อุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูลและคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้

1.  แป้นพิมพ์(Keyboard)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2. เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3.   แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่  แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4. จอยสติก  (Joy Stick)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ 
5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต  (Bar Code Reader)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)
   ซึ่'ประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6.  สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป 
7.               เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง  (Optical Character Reader:  OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค  ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8.               เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์ 
9.               ปากกาแสง (Light Pen)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ  มักใช้ในงานออกแบบ 
10.         จอสัมผัส  (Touch Screens)  เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ  เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11.         กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12.         ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้


อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง    
หน่วย ประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ได้แก่
1.             เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน  ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
2.             จานแม่เหล็ก (Magnetic  Disk)  เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก  แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
3.             จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์  เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว  และห่อหุ้มด้วยพลาสติก
4.             ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ  เรียกว่า  แพลตเตอร์ (Platters)  และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5.             ซีดีรอม  (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล  โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์  เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง  การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต  ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
6.             ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล  ลงบน CD-R ได้  รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
7.             วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว  แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้  ความจุตั้งแต่ 600 MB  ถึง 3 GB ขึ้นไป  ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน 
8.             เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical  Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน  ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป  ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว  แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
9.             ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล  แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB  ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที  เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย 

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
1.               จอภาพ  (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น 
2.               เครื่องพิมพ์ (Printer)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้    2 ประเภท คือ  1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ  2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ 
3.               เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์  โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่  มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
4.               เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ลำโพง   เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ที่เกิดจากการ์ดเสียง   หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า  ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง  มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ
อ้างอิง
http://nantana-nan1231.blogspot.com/2012/02/2-input-device.html

http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/input.htm

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบในระบบคอมพิวเตอร์

ทฤษฎีระบบ

ความหมายของระบบ
             ระบบ (system) หมายถึง โครงสร้างหรือองค์ประกอบรวมทั้งหมดอย่างมีระบบ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ภายในของส่วนประกอบต่างๆ แต่ละส่วนและต่อส่วนรวมทั้งหมดของระบบอย่างชัดเจน (Silvern)
             ระบบ (system) หมายถึง การรวบรวมส่งต่างๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้รอกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาจัดดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ (Banathy1968 : 7)
             ระบบ (system) คือผลรวมขององค์ประกอบย่อย ๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมาประกอบรวมกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าท่บางอย่าง อาทิเช่น ร่างกายมนุษย์ สงคมมนุษย์ พืช รถยนต์ ฯลฯ (Robbins 1983 : 9)
              Gagne and Briggs( กล่าวว่า ระบบหมายถึงวิธีการใดๆที่ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อเป็นหลักให้สมารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายในวงกว้างหรือในวงแคบๆก็ได้
              ระบบ (system) หมายถึง ผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกันแต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 98)
              ระบบ (system) คือส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันอาจจะเกิดโดยธรรมชาติ เช่น ร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยระบบการหายใจ การย่อยอาหาร ฯลฯ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของคนแล้วมามีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบแล้วนำส่งเหล่านั้นมารวมกันเพื่อให้การดำเนินการสามารวบรรลุไปได้ความจุดหมายที่วางไว้ (กิดานันท์ มลิทอง 2543 :74)
               กล่าวโดยสรุประบบคือ การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันภายในและมีปฏิสัมพันธ์กันโดยส่วนประกอบทั้งหลายนั้นจะร่วมกันทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
                วิธีระบบหรือวิถีระบบ (systems Approach) ความหมาย กระบวนการที่ทำให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผลลัพธ์ที่กหนดซึ่งอยู่บนพื้นฐานหลักการความต้องการเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหา เชิงตรรถวิทยา เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ระบุความต้องการ หรือมีการเลือกปัญหา คำตอบ หรือข้อแก้ไขปัญหาต่างๆ และได้รับการเลือกจากตัวเลือกและวิธีการต่างๆ และใช้มรรควิธีต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับใช้แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีการประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขตามที่กำหนดต่อส่วนต่างๆ ของระบบ ได้รับการดำเนินการจาสามารถบำบัดความต้องการ หรือความจำเป็นได้สั้นเชิง Kaumfan(1987)
              เป็นระบบวิธีการแก้ไขด้วยตนเอง เชิงตรรกวิทยาสำหรับการตัดสินใจที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสรรพส่งที่มนุษย์ทำขึ้นยุทธิวิธีของระเบียบวิธีนี้ประกอบด้วยหลักการวัตถุประสงค์การประกอบกิจ การจำแนกหน้าที่และองค์ประกอบต่างๆ การจัดเวลาการฝึกระบบและการทดสอบระบบ การติดตั้งและการควบคุมเชิงคุณภาพ ฉลองชัย (2544)
               วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหาสมมติฐานการวิเคราะห์ข้อมูลและการดำเนินการทดลองชั้นนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็จะต้องมีการทดรองมาสังเกตใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง (กิดานันท์ มลิทอง 2543 : 77)
               ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์.2544.การออกแบบระบบการสอน.ภาควิชาเทคโนโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


องค์ประกอบของระบบ
               จากความหมายของระบบตามที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าการที่จะมีระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาได้จะต้องมีส่วนประกอบหรือสิ่งต่างๆ เป็นตัวป้อนโดยเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น "กระบวนการ" เพื่อให้ได้ "ผลลัพธ์" ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น ภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้


รูปองค์ประกอบของระบบ
1.  ข้อมูล เป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป็นการป้อนวัตถุดิบตลอดจนข้อมูลต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหานั้น
2.  กระบวนการ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.  ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลง รวมถึงการประเมินด้วย
              นอกจากนี้ยังมีข้อมูลป้อนกลับซึ่งเป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมาพิจารณาว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ นั้นให้สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               จากองค์ประกอบและหน้าที่ต่างๆ ของระบบดังกล่าวมาแล้ว จึงจะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
ตัวอย่าง :  ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย
              ข้อมูล :  ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเรียนจบออกมาเป็น "บัณฑิต"
              กระบวนการ :  การลงทะเบียนเรียน การเรียนให้ครบในวิชาและหน่วยกิตที่ได้กำหนดไว้ การสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ
              ผลลัพธ์ :  นักศึกษาสำเร็จตามกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่างๆ ของมหาวิทยาลัยออกมาเป็น "บัณฑิต"
              ข้อมูลป้อนกลับ :  เมื่อบัณฑิตจบออกมาแล้วยังหางานทำไม่ได้หรือทำงานไม่ได้ดีเท่าที่ควรนับเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นำมาวิเคราะห์ถึงทุกขั้นตอนในระบบนั้น เช่น การสอบคัดเลือกได้มาตรฐานหรือไม่ เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับสภาพการทำงานในแต่ละแขนงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งต้องทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่คาดว่ายังบกพร่องอยู่หรืออาจจะมีการปรับปรุงใหม่ทั้งระบบก็ได้
การวิเคราะห์ระบบ (system analysis)
              ความหมาย : การพิสูจน์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ภายในของระบบการพิสูจน์เพื่อหาปัญหาในการออกแบบระบบและการกำหนดหน้าที่ของระบบ (Heinich)
              การวิเคราะห์ระบบเป็นวิธีการวิเคราะห์ระบบใดระบบหนึ่ง โดยมีการคาดหมายและจุดมุ่งหมายที่เป็นการปรับปรุงแก้ไขระบบนั้น โดยการวิเคราะห์นั้นจะแยกแยะปัญหาออกมาให้ได้แล้วกำหนดปัญหาเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษาและหาวิธีการแก้ไข ประจักษ์ เฉิดโฉม(2537)
              การวิเคราะห์ระบบนั้นเป็นการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์ทุกองค์ประกอบทุกๆ ส่วน ฉลองชัย(2545)
               ระบบที่กล่าวมานั้นเป็นระบบและองค์ประกอบในความหมายของระบบใหญ่โดยทั่วไปที่มองอย่างง่าย ๆ แต่แท้ที่จริงแล้วระบบมีความหมายที่กว้างขวางและมีองค์ประกอบย่อยมากไปกว่านั้น เนื่องจากระบบจะเกิดมีขึ้นได้จากผลรวมของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและทำงนร่วมกัน โดยที่ส่วนต่างๆ หรือองค์ประกอบย่อยของระบบนี้อาจจะเป็นระบบย่อยอีกมากมายหลายระบบที่รวมอยู่ในระบบใหญ่นั้น และจะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็โดยทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงของส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่ในส่วนรวมโดยอาจเป็นการให้ผลที่ดีขึ้นหรือเป็นผลในทางตรงข้ามก็ได้ การวิเคราะห์ระบบสามารถแสดงได้ดังนี้คือ


รูปแบบแผนของระบบใหญ่และระบบย่อยที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

            จากรูปของระบบดังกล่าว จะเห็นได้ว่าระบบนั้นประกอบด้วยข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ ตัวระบบซึ่งมีองค์ประกอบย่อย A, B, C และ D จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในทางเดียวกันหรือย้อนกลับไปมาสองทางได้ หรืออาจจะทำงานเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันก็ได้ เมื่อมีการทำงานขึ้นในระบบแล้วก็จะมีผลลัพธ์เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยที่ผลลัพธ์นั้นอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ต่อไปอีกได้ ตัวอย่างเช่น รางกายมนุษย์เป็นระบบใหญ่ระบบหนึ่งซึ่งมีองค์ประกอบเป็นระบบย่อย ๆ ต่างๆ มากมาย ในการที่จะทำให้ร่างกายมนุษย์ดำรงอยู่ได้นั้น ย่อมต้องอาศัยอาหาร น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบร่างกายนั่นเอง เมื่อร่างกายได้รับสิ่งเหล่านี้เข้าไปแล้วก็จะนำไปสู่ระบบต่างๆ เพื่อทำงานตามขั้นตอนของกระบวนการ เช่นอากาศถูกนำไปสู่ระบบการหายใจซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบการฟอกอากาของปอด หรืออาหารและน้ำถูกนำไปสู่ระบบการย่อยอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งผลลัพธ์ก็คือการที่ร่างกายสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพื่อดำรงอยู่ในระบบสังคมต่อไป ถ้าระบบใดระบบหนึ่งในร่างกายมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติ ก็อาจจะไปกระทบกระเทือนกับระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้ เช่น เมื่อสายตาเปลี่ยนเป็นสั้นลงหรือยาวขึ้น ก็ย่อมกระทบกับระบบประสาทอาจทำให้ปวดศีรษะหรือมึนงงได้ดังนี้เป็นต้น
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
1. ปัญหา (identify problem)รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา
2. .จุดมุ่งหมาย(objective)กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหา
              3. ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ(constraints)พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัด ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆในระบบ
4.ทางเลือก(alternative)ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา
5.การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม(Selection)หาทางแก้ปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง
6.การทดลองปฏิบัติ(implementation)ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย
7.การประเมินผล(evaluation)ประเมินหาจุดดีจุดด้อย
              8.การปรับปรุงแก้ไข(modification)ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง นำส่วนดีไปปฏิบัติต่อไป
              การดำเนินงานการสอนครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนและตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนนั้นให้ดีเสียก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการสอน ตลอดจนเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนเพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ผลลัพธ์ คือ การที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าหากว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น โดยอาจจะมีปัญหาในการสอนหรือการที่ผู้เรียนไม่สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ดีเท่าที่ควรก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การจัดระบบการสอนจะมีความหมายสำคัญ 2 ประการ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการสอนและการนำแผนนั้นไปใช้ ได้แก่
              1.  ความหมายแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนการสอนที่มีการจัดให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยที่จุดมุ่งหมายสำคัญของปฏิสัมพันธ์นี้คือ การเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดขึ้นมา
              2. ความหมายที่สองเป็นเรื่องของวิธีการเฉพาะในการออกแบบระบบการสอน โดยจะประกอบด้วยวิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการรวมของการสอนนั้น
ในกระบวนการของการออกแบบการสอน จะต้องประกอบไปด้วยหลักพื้นฐานสำคัญ 4 ประการ คือ
            1.  ผู้เรียน โดยการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
            2.  วัตถุประสงค์ โดยการตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
             3.  วิธีการและกิจกรรม โดยการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้
              4.  การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่
              นอกจากองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทั้ง 4 ประการเหล่านั้นแล้ว ในการออกแบบการสอนยังต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกหลายประการ เพื่อประกอบกันให้เป็นการออกแบบการสอนที่สมบูรณ์


การจัดระบบ
             ระบบ หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรอสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของตนแล้วมาปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบแล้นำสิ่งนั้นมารวมกันเพื่อให้สามารถดำเนินงานบรรลุไปได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
              องค์ประกอบของงานระบบ ต้องมีสิ่งต่างๆ เป็นตัวป้อนเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น "กระบวนการ" เพื่อให้ได้ "ผลลัพธ์" ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
               ระบบใหญ่และระบบย่อย มีความหมายกว้างและมีองค์ประกอบย่อยมาก ผลรวมของส่วนต่าง ๆ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและทำงานรวมกัน อาจเป็นระบบย่อยอีกมากมายหลายระบบที่รวมอยู่ในระบบใหญ่นั้น จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงของส่วนใด ๆ อาจมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่
               การจัดระบบการสอน ที่นิยมมาก คือ "การจัดระบบ" หรือ "วิธีระบบ" นั่นเอง โดยมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหา สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการดำเนินการทดลองอันนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม มี 2 ประการ
1.  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้สอนและเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อเอื้ออำนวย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ดีที่สุด
              2.  เป็นเรื่องของวิธีการเฉพาะในการออกแบบระบบการสอนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีของการสอนในการจัดระบบการสอน อาศัยพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ
1.  ผู้เรียน โดยพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
              2.  วัตถุประสงค์ โดยตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
              3.  วิธีการและกิจกรรม โดยกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้างเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
               4.  การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่
ระบบการสอนของเกอร์ลาช-อีลี่
ในการนำเอาวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรม ได้มีผู้นำมาดำเนินการแล้วทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งระบบของ Gerlach-Ely เป็นวิธีระบบที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป ซึ่ง Gerlach-Ely (อ้างถึงงาน กิดานันท์, 2531 : 70) แบ่งขั้นตอนของ วิธีระบบออกเป็น 10 ขั้นตอน ดังนี้
              1.  การกำหนดวัตถุประสงค์ (specification of objectives) ระบบการสอนนี้ เริ่มต้นการสอนด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนขึ้นมาก่อน โดยควรจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนสามารถวัดหรือสังเกตได้
              2.  การกำหนดเนื้อหา (specification of content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
             3.  การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น (assessment of entry behaviors) เป็นการประเมินผลก่อนการเรียน เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรม และภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้น ๆ ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
             4.  การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน (determination of strategy) การกำหนดกลยุทธเป็นวิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้เรื่องราว เลือกทรัพยากร และกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วิธีการสอนตามกลยุทธ์นี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1.  การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approech) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอน การสอนแบบนี้ได้แก่ การสอนแบบบรรยายหรืออภิปราย ซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด
2.  การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (discovery หรือ inquiry approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียน เป็นการจัดสภาพการณ์เพื่อให้การเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยที่ผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง

             5.  การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (organization of groups) เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอน และเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสม การจัดกลุ่มจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการสอนด้วย
             6.  การกำหนดเวลาเรียน (allocation of time) การกำหนดเวลา หรือการใช้เวลาในการเรียนการสอน จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่ และความสนใจของผู้เรียน
             7.  การจัดสถานที่เรียน (alloction of space) การจัดสถานที่เรียนจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน แต่ในบางครั้งสถานที่เรียนแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละอย่าง ดังนั้นจึงควรมีสถานที่หรือห้องเรียนในลักษณะต่างกัน 3 ขนาด คือ
1.  ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50-300 คน
2.  ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย
3.  ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพัง ซึ่งอาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนรายบุคคล
             8.  การเลือกสรรทรัพยากร (allocation of resources) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียนเพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การเลือกใช้ทรัพยากรหรือสื่อการสอนสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ
1.  สื่อบุคคลและของจริง หมายถึง ผู้สอน ผู้ช่วยสอน วิทยากรพิเศษ หรือของจริงต่าง ๆ เพื่อช่วยในการประกอบการสอน เป็นต้น
2.  วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย เช่น วีดิทัศน์ แผ่นโปร่งใส่ สไลด์ ฟิล็มสตริป ฯลฯ
3.  วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ
4.  สิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร รูปภาพ ฯลฯ
5.  วัสดุที่ใช้แสดง เช่น แผนที่ ลูกโลก ของจำลองต่าง ๆ ฯลฯ
              9.  การประเมิน (evaluation of performance) หมายถึง การประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน อันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลการเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียน และเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของระบบการสอนที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นหลักในการดำเนินงาน
             10.  การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (analysis of feedback) เมื่อขั้นตอนของการประเมินผลเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็จะทำให้ทราบได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ต้องทำการวิเคราะห์ผลหรือย้อนกลับมาพิจารณาว่า ในการดำเนินงานตั้งแต่ต้นนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในระบบ หรือมีปัญหาประการใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
              องค์ประกอบการสอนด้วยวิธีระบบของเกอร์ลาซ-อีลี (Gerlach-Ely) ซึ่งประหยัด จิระวรพงศ์ (2520 : 22-23) ได้จัดการแบ่งวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี ออกเป็น 5 ส่วน คือ
              1.  เนื้อหา เป้าประสงค์ ต่างมีความสำคัญและสำพันธ์กัน โดยเฉพาะเป้าประสงค์ที่เป็นพฤติกรรม ซึ่งสามารถวัดได้เหมาะกับเนื้อหา และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความสามารถในการนำไปใช้ต่อผู้เรียน
              2.  ก่อนที่จะทำการสอนต้องคำนึงถึงพื้นฐาน ความสามารถและความต้องการของผู้เรียนของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อจัดลำดับชั้นการเรียนให้เหมาะสมตามผู้เรียน
              3.  ขั้นการสอน ผู้สอนต้องพิจารณาวิธีการและส่วนประกอบ อันเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนในทุกด้าน เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนดำเนินการไปโดยบรรลุผลเร็วที่สุด
4.  ในการทำผลลัพธ์ต้องใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นไปตามเป้าหมาย
              5.  เป็นการวิเคราะห์ และปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของการเรียนการสอน
              จะเห็นได้ว่าวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ซึ่งนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านนำมาใช้ และนำมาวิเคราะห์ระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี
ระบบการสอนของกลาสเซอร์ (Glasser)
              สงัด อุทรานันท์ (2525 : 10) กล่าวถึงรูปแบบวิธีระบบของ Glasser ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ
1. จุดประสงค์ของการสอน
2. การประเมินสถานะของผู้เรียน
3. การจัดกระบวนการเรียนการสอน
4. การประเมินผลการเรียนการสอน
5. ข้อมูลป้อนกลับ
ระบบการสอนของบราวน์และคณะ (Brown, and Others)
            ระบบการสอนของบราวน์และคณะเป็นระบบการสอนที่จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน โดยการพิจารณาถึงแนวทางและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อที่ผู้สอนจะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน โดยในการออกแบบระบบการสอนนี้ บราวน์และคณะได้ทำการวิเคราะห์ระบบการสอนโดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ในแต่ละหัวข้อจะแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ดังนี้คือ
            จุดมุ่งหมาย (Goals) ในการเรียนการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่จะต้องการให้บรรลุผลสำเร็จ โดยผู้สอนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
              วัตถุประสงค์และเนื้อหา (Objectives and Content) เป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วผู้เรียนจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์อะไรบ้าง ซึ่งจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนแล้วต้องมีการเลือกเนื้อหาบทเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนแล้วสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อผลของการเรียนรู้ที่กำหนดไว้


วิธีระบบของ kemp ที่นำมาใช้ในการเรียน
การสอน ที่มา : สงัด, 2525 : 11
ได้กำหนดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.  กำหนดข้อที่จะสอน และเขียนวัตถุประสงค์ทั่วไป
2.  ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน
3.  ระบุจุดมุ่งหมายของการสอนในเชิงพฤติกรรม
4.  กำหนดเนื้อหาวิชาที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ
5.  ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถก่อนที่จะทำการสอน
6.  เลือกกิจกรรมและแหล่งวิชาการสำหรับการเรียนการสอนเพื่อจะนำเนื้อหาวิชาไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางที่วางไว้
7.  ประสานงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดไว้
8.  ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
9.  พิจารณาดูว่าควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงแผนการเรียนการสอนให้ดีขึ้นอย่างไร
วิธีระบบของ Knirk และ Gentry   ที่มา : สงัด, 2525 : 13
ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบออกเป็น 6 ส่วน คือ
1. การกำหนดเป้าหมาย
2. การวิเคราะห์กิจกรรม
3. การกำหนดกิจกรรม
4. การดำเนินการสอน
5. การประเมินผล
             6. การปรับปรุงแก้ไข
ระบบการสอนของคลอสไมร์และริปเปิล (Klausmeir และ Ripple)

Klausmeir และ Ripple (อ้างถึงใน สงัด, 2525 : 15) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
1.  กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2.  เตรียมความพร้อมของนักเรียน
3.  จัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
4.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5.  ดำเนินการสอน
6.  สัมฤทธิ์ผลของนักเรียน
7.  การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน
อ้างอิง
อ้างอิงจาก
ประจักษ์ เฉิดโฉมและศิษฐ์ วงษ์กมลเศรษฐ์.2537.การวิเคราะห์ระบบ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.กรุงเทพฯ.
http://www.ripb.ac.th/elearn/23 กรกฎาคม 2546

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง   เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี ประการ คือ
          1.
 ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์
          2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
          3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก
          4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด

การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอน คือ
          1.
 รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

          2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

          3. แสดงผลลัพธ์  คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
อ้างอิง


วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น

1.คอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
 2.ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้


1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

3.มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

5.โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
 

 

6.เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

7.แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม


3.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

4.ความหมายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ

1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า
2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้
3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน

5.ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว

3.หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น
5.อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ

6.Softwareคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์

6.1ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
 
6.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผพันาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก 
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
 
สรุป

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรมขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วยการรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้และทำการประมวลผลโดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้
ความหมายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
Softwareคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์


อ้างอิง
http://www.jinan.co.th/computer.html
http://www.thaigoodview.com/node/124091