วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

NOD32



NOD32 เป็นโปรแกรมสแกนไวรัสชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยทีมงาน ESET, SPOL r.o. s และ ESET, LLC ผู้ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ในระดับสูงแนวหน้าของโลก ชื่อเสียงของโปรแกรมป้องกันไวรัสที่พวกเขาสร้างขึ้นดังกระฉ่อนไปทั่วโลก และทั่วประเทศไทยในระยะเวลาอันสั้น NOD32 ภาษาไทย เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในเวอร์ชั่น 2.x เมื่อหลายปีที่ผ่านมาซึ่งได้รับเสียงการตอบรับจากผู้ใช้งานทั่วประเทศที่ดีมาก แต่ตอนนั้นยังไม่สนับสนุนภาษาไทย ก็เลยเบาลงไป และในปัจจุบัน โปรแกรม NOD32 รองรับการแสดงผล ภาษาไทย เต็มรูปแบบ พร้อมคู่มือการติดตั้งและใช้งานที่เป็นภาษาไทยและคำอธิบายการทำงานอย่างละเอียด ซึ่งหมายความว่าโปรแกรมนี้ได้ถูกนิยมขึ้นอีกครั้ง และทำให้ NOD32 ภาษาไทย เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวต้นๆที่ผู้ใช้งานถามถึง เพราะจากเดิมแล้วประสิทธิภาพการทำงานของ NOD32 นั้นถือว่าเข้าตาผู้ใช้งานมาก ทั้งในเรื่องของคุณภาพในการป้องกันไวรัสและเรื่องคุณภาพของการใช้งาน มันใช้งานง่ายและแทบไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้มากมายเลย มันก็สามารถที่จะป้องกันไวรัสได้แบบเด็ดขาดมาก ตั้งแต่ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวนี้มาก็ไม่มีไวรัสมากวนใจอีกเลย
วีดิโอ NOD32

NOD32 วิธีการติดตั้ง

เรามาดูการติดตั้ง NOD32 กับ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะทำให้คุณได้มีโปรแกรมป้องกันไวรัสดี ๆ แบบนี้ไว้ใช้งานกัน
NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 1
Figure 1: NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 1
NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 2
Figure 2: NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 2
NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 3
Figure 3: NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 3
NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 4
Figure 4: NOD32 วิธีการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 4
NOD32 วิธีการติดตั้ง หลังจากติดตั้งเสร็จสิ้น
Figure 5: NOD32 วิธีการติดตั้ง หลังจากติดตั้งเสร็จสิ้น
หลังจากติดตั้ง NOD32 เสร็จแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาแบบนี้ บางทีมันอาจจะไปหน้าหลักก็ได้ แต่อันนี้มันจะเด้งมาหน้าที่ถามว่าคุณต้องการสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์เลยหรือไม่? ถ้าคุณยังไม่ต้องการสแกนอะไร ก็ปล่อยทิ้งไว้ก่อน เรามาดูขั้นตอนการใช้งานแบบภาษาไทยกันคร่าวๆ ว่า โปรแกรมสแกนไวรัสขั้นเทพNOD32 ของเราจะมีความสามารถและลูกเล่นอะไรบ้าง?

NOD32 วิธีการใช้งาน

หลังจากติดตั้งไปแล้ว ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น เรามาดูความสามารถและอธิบายส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม NOD32 กันว่า มันมีความสามารถอะไรบ้าง? มันทำอะไรได้บ้าง? และมันจะเจ๋งซักแค่ไหน? และทำไมคนไทยทั้งประเทศถึงเทใจให้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวนี้เป็นพิเศษ (ไม่ทุกคน) รวมถึงตัวผู้โพสด้วย ^__^
NOD32 อัพเดต
Figure 6: NOD32 อัพเดต
เริ่มต้นด้วยการ อัพเดต NOD32 (UPDATE NOD32) กันก่อนเลย เพื่อให้ฐานข้อมูลไวรัสเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด และเพื่อให้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง ถ้าหากเราไม่ทำงานอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสอยู่อย่างสม่ำเสมอ หรือฐานข้อมูลไวรัสไม่เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด จะมีผลกับไวรัสตัวใหม่ ๆ ที่ออกมา เพราะว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะไม่สามารถตรวจจับได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรให้ความสำคัญกับการอัพเดตแอนตี้ไวรัสของคุณบ่อย ๆ นะจ๊ะ

NOD32 การตั้งค่าโปรแกรม
Figure 7: NOD32 การตั้งค่าโปรแกรม
หลังจากอัพเดตไปแล้ว เรามาดูส่วนของ การตั้งค่าโปรแกรม NOD32 กันบ้าง ต้องบอกก่อนเลยว่าค่าพื้นฐานของเค้าที่ทางผู้พัฒนาเค้าตั้งค่ามาให้นั้นก็โอเครอยู่แล้ว แต่หากต้องการตั้งค่าหรือเพิ่มความสามารถของโปรแกรมเป็นพิเศษ เราก็สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้เช่นกัน อย่างเช่น การตั้งค่าให้ NOD32 ทำงานแบบ Real-Time ของการทำงานโปรเซสในคอมพิวเตอร์ อะไรจะทำงานก็ต้องขออนุญาติจากเราก่อน แบบนี้ก็ดีไปอย่าง แต่ข้อเสียคือเวลาจะรันโปรแกรมอะไรซักอย่าง ก็ต้องถามเราตลอด ถ้าผู้ใช้งานเองไม่รำคาญก็ไม่เป็นไร มันก็เพิ่มคุณภาพของแอนตี้ไวรัสได้อีกทางเช่นกัน

NOD32 ตัวเลือกการสแกนไวรัส
Figure 8: NOD32 ตัวเลือกการสแกนไวรัส
ในส่วนนี้จะเป็นการเลือกให้ NOD32 ทำการสแกนไวรัสแบบไหน เช่นแบบกำหนดเอง ก็จะเลือก Drive ที่ต้องการแสกนได้ รวมไปถึงเลือก Processing ที่กำลังทำงานอยู่ได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ โหลดโปรแกรม NOD32 เลยก็ว่าได้ เพราะสามารถเจาะจงที่จะสแกนส่วนใดส่วนหนึ่งได้ แต่หากไม่ต้องการเจาะจงอะไร ให้เลือกแบบสมาร์ท โปรแกรมจะทำการสแกนไวรัสให้อัตโนมัตินั่นเอง

NOD32 เริ่มต้นกระบวนการค้นหาไวรัสและกำจัด
Figure 9: NOD32 เริ่มต้นกระบวนการค้นหาไวรัสและกำจัด
โอเคร.. หลังจากที่เลือกตัวเลือกการค้นหาไวรัสแล้ว โปรแกรมก็จะทำการสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา และก็จะรายงานรายละเอียดต่าง ๆ ที่มันทำไป เช่นไฟล์ไหนเปิดไม่ได้ หรือสแกนส่วนไหนแล้วมีปัญหา หรือรายงานไวรัสพร้อมชื่อไวรัสที่เจอ เป็นต้น ทำให้เราสามารถเลือกต่อไปได้ว่าต้องการจะทำอย่างไรต่อไป

NOD32 การตั้งค่าไม่ให้สแกนโฟเดอร์ที่ต้องการ
Figure 10: NOD32 การตั้งค่าไม่ให้สแกนโฟเดอร์ที่ต้องการ
ความสามารถของ NOD32 นั้นเหลือเฟือจริง ๆ ในส่วนนี้ก็คือการตั้งค่าโฟเดอร์ที่เราไม่ต้องการให้โปรแกรมเข้าไปตรวจสอบได้ เผื่อบางครั้งเราอาจจะเก็บของดีต่าง ๆ เอาไว้ ก็ถือว่าเป็นออฟชั่นที่ให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้งานสูงเลยทีเดียว, คุณเริ่มที่จะเทใจให้ NOD32 เหมือนผู้เขียนบ้างแล้วหรือยัง?

NOD32 แสดงหน้าต่างเมื่อตรวจเจอไวรัส
Figure 11: NOD32 แสดงหน้าต่างเมื่อตรวจเจอไวรัส
นี้เป็นตัวอย่างการรายงานว่า โปรแกรม NOD32 ได้ทำการตรวจพบไวรัส ซึ่งจะรายงานว่ามันอยู่ที่ไหน และมีตัวเลือกให้เรา ว่าเราจะทำอะไรกับมัน โดยจะมี 3 ตัวเลือกนั่นคือ
  1. กำจัด (แนะนำ) – ทำการกำจัดไวรัสนั้น ๆ ออกจากระบบการทำงาน
  2. ลบ (แนะน) – ทำการลบข้อมูลส่วนนั้นออกจากคอมพิวเตอร์ของคุณไปเลย
  3. ไม่มีการทำงาน (ไม่แนะนำ) – ตัวเลือกนี้จะไม่มีการทำงานใด ๆ กับไฟล์นั้น บางครั้งมันก็ไม่ใช่ไวรัส เราก็เลือกตัวนี้ ซึ่ง โปรแกรม NOD32 ให้ความเป็นส่วนตัวกับเรามาก ๆ

ESET NOD32 Antivirus มาพร้อมกับ AntiSpyware
Figure 12: ESET NOD32 Antivirus มาพร้อมกับ AntiSpyware
โปรแกรม NOD32 นั้นได้พัฒนาไปไกลมากจริง ๆ นอกจากจะมี Antivirus แล้วและในเวอร์ชั่นปัจจุบัน ESET NOD32 Antivirus 5 ได้มีการบรรจุความสามารถในการป้องกันไวรัสแบบ Spyware เข้าไปด้วย หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า Anti Spyware เพราะว่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นแหล่งแพร่กระจายไวรัสชั้นเลิศ จึงทำให้มีการป้องกันที่เข้มงวดมากกว่าเดิมหลายเท่า และนี่ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์และข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ของคุณนั่นเอง

NOD32 เครื่องมือป้องกันไวรัสที่หลากหลาย
Figure 13: NOD32 เครื่องมือป้องกันไวรัสที่หลากหลาย
ประสิทธิภาพของ NOD32 ยังไม่หมดแค่นั้นนะจ๊ะ มันเป็นแอนตี้ไวรัสที่สุดยอดจริง ๆ ยังมีความสามารถเสริมต่าง ๆ อีกมากมาย ออกมาให้เราได้ใช้งานเป็นเหมือนกันกับ เครื่องมือ ที่จะให้เราได้กำจัดไวรัสได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เช่นข้อมูลสถิติการป้องกันไวรัส, การติดตามการทำงานของโปรเซสคอมพิวเตอร์, การกักเก็บวัตถุต้องสงสัย ฯลฯ ซึ่งเยอะมาก ๆ และนี่แหละทำให้ผู้เขียนเอง เทใจให้ NOD32 หมดใจไปเลย ^__^
อ้างอิง http://www.sangdown.com/nod32

การอัพเดต NOD32

1. เปิดหน้า nod32 คลิ๊กที่ Setup

2. หัวข้อ Setup เลือกไปที่ Enter Entire Advanced Setup Tree..

3. ที่เมนูด้านซ้าย เลือกไปที่ Update 
4. ตรงส่วนของ Username และ Password ไม่ต้องใส่ปล่อยว่างเอาไว้
จากนั้น
คลิ๊กที่ Edit


5. สำหรับผู้ที่จะทำการ Update แบบ Online ให้กรอก 
http://www.jkdramas.com/nodup/eset_v3_upd

สำหรับผู้ที่จะ
 Update แบบ Offline ให้ใส่ path ของที่เก็บไฟล์ Offline เอาไว้
หากเก็บไว้ที่
 
c:\update_Nod_V3 ให้กรอก c:\update_Nod_V3 ลงไป
6. กด OK

7. ที่ Update Server ปรับเลือกเป็น รายการที่ทำการเพิ่มไป หาก update Online ปรับเลือกเป็นhttp://www.jkdramas.com/nodup/eset_v3_upd
หาก update แบบ offline ปรับเลือกเป็น 
path ที่ตั้งไว้ ส่วนของ Username และ Password ไม่ต้องใส่ปล่อยว่างเอาไว้
8. เสร็จแล้วกด
 OK
9กดที่ Update Virus Signature database
10. โปรแกรมจะทำการ update ให้เองอัตโนมัติจนเสร็จ


อ้างอิง  http://jkdramas.com/nodup/eset_v3_upd/

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไวรัสคอมพิวเตอร์


ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้ ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตาม จึงกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Worm, Trojan, Spyware, Adware เป็นต้น ที่ถูกต้องควรใช้คำว่ามัลแวร์ (Malware) เพราะมัลแวร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน
ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้ครับ

1.บูตไวรัส

บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่ เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที

บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


2.ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น


3.มาโครไวรัส
มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

4.หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น

5.โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะ ถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3c7bc41025d6bb6b

ลักษณะสำคัญของ ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1. บู๊ตเซ็กเตอร์ไวรัส หรือบู๊ตอินเฟ็กเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses / Boot Infector Viruses) เป็นไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในบู๊ตเซ็กเตอร์(ส่วนที่ฮาร์ดดิสก์จะอ่านก่อนข้อมูลอื่น) โดยไวรัสชนิดนี้นะครับจะซ่อนตัวอยู่ในแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ เมื่อมีการอ่านข้อมูลจากฟล็อปปี้ดิสก์ ไวรัสก็จะแฝงตัวเข้าสู่บู๊ตเซ็กเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ ทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเราติดไวรัส ไวรัสก็จะไปรบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์เมื่อมีการบู๊ตเครื่องใหม่ 

2. โปรแกรมไวรัส หรือ ไฟล์อินเฟ็กเตอร์ไวรัส (Program Viruses / File Infector Viruses) เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .com , .dll หรือ .exe และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น .sys , .bin , .drv และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจาก โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม 

การทำงานของไวรัสนี้ โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลังจากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป วิธีการแพร่ระบาดอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป

3. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนา (Copy) ตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

4. มาโครไวรัส (Macro Viruses) เป็นไวรัสที่จะแฝงตัวติดกับไฟล์ที่เป็นต้นแบบ (Template) ในการสร้างเอกสารต่างๆ หลังจากที่ไฟล์ต้นแบบติดไวรัสแล้ว ทุกๆเอกสารที่เปิดใช้งานแล้วมีการเชื่อมโยงกับไฟล์ต้นแบบนั้นๆก็จะติดไวรัสไปด้วยทำให้ไฟล์เกิดการเสียหายได้ 

5. สเตลท์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟ็กเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสเตลท์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุม เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือใช้โปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ก็จะแสดงขนาดของโปรแกรมเท่าเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

5 วิธีป้องกัน ไวรัสคอมพิวเตอร์ แบบง่าย ๆ 

5 วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์แบบง่าย ๆ  ที่คุณก็ทำได้ (momypedia)



         ไวรัสสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็คล้าย ๆ กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดของเรานั่นแหละ นอกจากจะทำร้ายคอมพิวเตอร์ของเรา ยังอาจลุกลามไปถึงเครื่องคนอื่นได้ โดยเฉพาะในออฟฟิศหรือสำนักงาน มาป้องกันไวรัสด้วยวิธีง่าย ๆ นี้ดีกว่า

         อย่าเปิดอ่านอีเมลแปลก ๆ เวลาที่คุณเช็กอีเมล ถ้าเผอิญเจออีเมล์ชื่อแปลก ที่ไม่รู้จักให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าต้องมีไวรัสแน่นอน แม้ว่าชื่อหัวข้ออีเมลจะดูเป็นมิตรแค่ไหน ก็อย่าเผลอกดเข้าไปเด็ดขาดล่ะ

         ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (Anti-virus) ต้องยอมรับว่า ไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัสโปรแกรมใดสมบูรณ์แบบ จะต้องอัพเดตโปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบ คลุมถึงไวรัสชนิดใหม่ ๆ

         อย่าโหลดเกมมากเกินไป เกมคอมพิวเตอร์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจมีไวรัสซ่อนอยู่ ไม่ควรโหลดมาเล่นมากเกินไป และควรโหลดจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น บางทีเว็บไซต์จะมีเครื่องหมายบอกว่า "No virus หรือ Anti virus" อยู่แบบนี้ถึงจะไว้ใจได้

         สแกนไฟล์ต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภท ควรทำการสแกนไฟล์ รวมทั้งข้อมูลจากภายนอกก่อนเข้ามาใช้ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CD, Diskette หรือ Handydrive ต้องใช้โปรแกรมค้นหาไวรัสเสียก่อน

         หมั่นตรวจสอบระบบต่าง ๆ ควรตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ เช่น หน่วยความจำ, การติดตั้งโปรแกรมใหม่ ๆ ลงไป, อาการแฮงค์ (Hang) ของเครื่องเกิดจากสาเหตุใด บ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งคุณอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมพวกบริการ (Utilities) ต่าง ๆ เพิ่มเติมในเครื่องด้วย

Tip ... รู้ได้อย่างไรว่าคอมพิวเตอร์ติดไวรัสแล้ว

         1. การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลงกว่าปกติ

         2. คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ

         3. อยู่ดี ๆ ข้อมูลบางอย่างก็หายไป

         4. ตัวเครื่อง Restart เองโดยไม่ได้สั่ง

         5. แป้นพิมพ์ทำงานปกติหรือไม่ทำงานเลย
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=432b30f5a0d4d167


โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบหลักๆ คือ
  1. แอนติไวรัส (Anti-Virus) เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
  2. แอนติสปายแวร์ (Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงการกำจัด Adsware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย
  3.  AVG Antivirus Free Edition 2011: เป็นโปรแกรมที่สามารถป้องกันไวรัสและสปายแวร์ ตัวใหม่ๆ ได้ เช่น ไวรัสที่มากับ E-mail เพราะทุกวันนี้ไวรัสและสปายแวร์จะมีการอัพเดทความสามารถในการทำลายอยู่ตลอด
  4. . PC Tools AntiVirus Free: โปรแกรมนี้ก็จะช่วยป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ให้ติดไวรัสได้ง่ายๆ ซึ่งเหมือนกับโปรแกรมสแกนไวรัสตัวอื่น ๆ
  5. Microsoft Security Essentials: สำหรับโปรแกรมนี้ เป็นโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสหรือสปายแวร์ได้เกือบทุกรูปแบบ ไม่ว่าไวรัสจะเปลี่ยนสถานะในการเข้าถึงข้อมูลของเราเป็นอย่างไรก็ตาม 


อ้างอิง http://th.wikipedia.org]


การติดตั้ง (Installation)

  • การติดตั้ง (Installation)

    ความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Minimum System Requirement)
OSCPURAM
Windows 98/Me133 MHz / 150 MHZ32 MB
Windows NT/2000133 MHz32 MB / 64 MB
Windows XP/2003300 MHz128 MB
และถ้าท่านมีโปรแกรมป้องกันไวรัสอื่นอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีไอคอนแสดงอยู่ที่ Taskbar (ซึ่งอยู่ด้านล่างขวามือ ของจอ) กรุณา Uninstall ออกก่อนทำการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส NOD32 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการใช้งาน ผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
  • วิธีการติดตั้ง
    • หลังจาก download Nod32 Anti-Virus สำหรับเครื่อง Client หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย หรือเครื่องส่วนตัวแล้ว (ยกเว้น หากต้องการติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server ให้ติดต่อศูนย์คอมพิวเตอร์)
    • ทำการ Save หรือคลิกที่ Run เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม
    • คลิก install เพื่อทำการติดตั้ง และรอสักครู่
    • ให้แน่ใจว่า nod32 ได้เริ่มทำงาน
    • เมื่อ restart เครื่องเรียบร้อยแล้ว จะปรากฎ icon nod32 ดังรูป แสดงว่าติดตั้งเรียบร้อย


การสั่งสแกน

  • การสั่งสแกน
โปรแกรม nod32 ในเครื่องของท่านได้ถูกตั้งเวลาให้สแกนทุก ๆ วันอยู่แล้ว และท่านยังสามารถสั่งสแกนเครื่อง
ของท่านได้ตามต้องการ โดยขั้นตอนการสั่งสแกนเครื่องของท่านมีดังนี้

กดไปที่ start > All Program > Eset > NOD32 Control Center หรือกดที่ icon ของโปรแกรม nod32 ที่อยู่มุมล่างขวาของจอ กดเลือกไปที่ nod32
ทางหน้าต่างด้านขวามือ มี 4 ตัวเลือกในการสั่งสแกน 
    • ให้กดเลือกไปที่ "Local" เพื่อสั่งสแกนฮาร์ดดิสทุกตัวในเครื่อง
    • ให้กดเลือกไปที่ "Run NOD32" เพื่อสั่งสแกนแบบปกติ
    • ให้กดเลือกไปที่ "In-depth analysis" เพื่อสั่งสแกนแบบละเอียด
    • ให้กดเลือกไปที่ "Diskettes" เพื่อสั่งสแกนฟลอปปี้ดิสก์
เมื่อเลือกระดับการสแกนตามความต้องการแล้ว ให้เริ่มสแกนโดยเลือก Scan & Clean 
    • แสดงข้อความสีน้ำเงิน หมายถึง ไฟล์ที่แกนไม่ได้ เนื่องจากอาจมีข้อผิดพลาดบางอย่าง อาจจะเป็น file
      ระบบปฏิบัติการของ Windows ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
    • แสดงข้อความสีน้ำตาล หมายถึง ไฟล์ที่ติดไวรัสและถูก delete พร้อม quarantine
  • http://www.dpu.ac.th/compcntre/page.php?id=2243



การไรค์แผ่น cd





1. ใส่แผ่น CD แล้วเปิดโปรแกรม Nero ขึ้นมา แล้วคลิกที่ CD ข้อมูลครับ



2. จากนั้นคลิกเพิ่ม



3. หาไฟล์ที่เราต้องการเมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกเพิ่มครับ



4. คลิกถัดไป



5. คลิกเบิร์น



6. รอการเบิร์นแผ่นครับ



7. คลิกตกลงเป็นอันเสร็จเรียบร้อย





อ้างอิง http://muit.mahidol.ac.th/pdf/other/Write_CD_DVD_Nero.pdf

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์รับข้อมูล


อุปกรณ์รับข้อมูล

 

     การ รับข้อมูล  (Input)  หมายถึง  กระบวนการป้อนข้อมูล  คำสั่ง  โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้คำว่า  input  ยังหมายถึง  อุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูลและคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้

1.  แป้นพิมพ์(Keyboard)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2. เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3.   แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่  แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4. จอยสติก  (Joy Stick)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ 
5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต  (Bar Code Reader)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)
   ซึ่'ประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6.  สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป 
7.               เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง  (Optical Character Reader:  OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค  ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8.               เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์ 
9.               ปากกาแสง (Light Pen)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ  มักใช้ในงานออกแบบ 
10.         จอสัมผัส  (Touch Screens)  เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ  เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11.         กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12.         ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้


อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง    
หน่วย ประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ได้แก่
1.             เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน  ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
2.             จานแม่เหล็ก (Magnetic  Disk)  เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก  แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
3.             จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์  เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว  และห่อหุ้มด้วยพลาสติก
4.             ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ  เรียกว่า  แพลตเตอร์ (Platters)  และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5.             ซีดีรอม  (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล  โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์  เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง  การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต  ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
6.             ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล  ลงบน CD-R ได้  รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
7.             วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว  แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้  ความจุตั้งแต่ 600 MB  ถึง 3 GB ขึ้นไป  ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน 
8.             เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical  Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน  ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป  ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว  แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
9.             ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล  แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB  ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที  เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย 

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
1.               จอภาพ  (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น 
2.               เครื่องพิมพ์ (Printer)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้    2 ประเภท คือ  1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ  2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ 
3.               เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์  โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่  มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
4.               เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ลำโพง   เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ที่เกิดจากการ์ดเสียง   หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า  ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง  มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ
อ้างอิง
http://nantana-nan1231.blogspot.com/2012/02/2-input-device.html

http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/input.htm

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบในระบบคอมพิวเตอร์

ทฤษฎีระบบ

ความหมายของระบบ
             ระบบ (system) หมายถึง โครงสร้างหรือองค์ประกอบรวมทั้งหมดอย่างมีระบบ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ภายในของส่วนประกอบต่างๆ แต่ละส่วนและต่อส่วนรวมทั้งหมดของระบบอย่างชัดเจน (Silvern)
             ระบบ (system) หมายถึง การรวบรวมส่งต่างๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้รอกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาจัดดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ (Banathy1968 : 7)
             ระบบ (system) คือผลรวมขององค์ประกอบย่อย ๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมาประกอบรวมกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าท่บางอย่าง อาทิเช่น ร่างกายมนุษย์ สงคมมนุษย์ พืช รถยนต์ ฯลฯ (Robbins 1983 : 9)
              Gagne and Briggs( กล่าวว่า ระบบหมายถึงวิธีการใดๆที่ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อเป็นหลักให้สมารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายในวงกว้างหรือในวงแคบๆก็ได้
              ระบบ (system) หมายถึง ผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกันแต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 98)
              ระบบ (system) คือส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันอาจจะเกิดโดยธรรมชาติ เช่น ร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยระบบการหายใจ การย่อยอาหาร ฯลฯ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของคนแล้วมามีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบแล้วนำส่งเหล่านั้นมารวมกันเพื่อให้การดำเนินการสามารวบรรลุไปได้ความจุดหมายที่วางไว้ (กิดานันท์ มลิทอง 2543 :74)
               กล่าวโดยสรุประบบคือ การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันภายในและมีปฏิสัมพันธ์กันโดยส่วนประกอบทั้งหลายนั้นจะร่วมกันทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
                วิธีระบบหรือวิถีระบบ (systems Approach) ความหมาย กระบวนการที่ทำให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผลลัพธ์ที่กหนดซึ่งอยู่บนพื้นฐานหลักการความต้องการเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหา เชิงตรรถวิทยา เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ระบุความต้องการ หรือมีการเลือกปัญหา คำตอบ หรือข้อแก้ไขปัญหาต่างๆ และได้รับการเลือกจากตัวเลือกและวิธีการต่างๆ และใช้มรรควิธีต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับใช้แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีการประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขตามที่กำหนดต่อส่วนต่างๆ ของระบบ ได้รับการดำเนินการจาสามารถบำบัดความต้องการ หรือความจำเป็นได้สั้นเชิง Kaumfan(1987)
              เป็นระบบวิธีการแก้ไขด้วยตนเอง เชิงตรรกวิทยาสำหรับการตัดสินใจที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสรรพส่งที่มนุษย์ทำขึ้นยุทธิวิธีของระเบียบวิธีนี้ประกอบด้วยหลักการวัตถุประสงค์การประกอบกิจ การจำแนกหน้าที่และองค์ประกอบต่างๆ การจัดเวลาการฝึกระบบและการทดสอบระบบ การติดตั้งและการควบคุมเชิงคุณภาพ ฉลองชัย (2544)
               วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหาสมมติฐานการวิเคราะห์ข้อมูลและการดำเนินการทดลองชั้นนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็จะต้องมีการทดรองมาสังเกตใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง (กิดานันท์ มลิทอง 2543 : 77)
               ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์.2544.การออกแบบระบบการสอน.ภาควิชาเทคโนโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


องค์ประกอบของระบบ
               จากความหมายของระบบตามที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าการที่จะมีระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาได้จะต้องมีส่วนประกอบหรือสิ่งต่างๆ เป็นตัวป้อนโดยเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น "กระบวนการ" เพื่อให้ได้ "ผลลัพธ์" ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น ภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้


รูปองค์ประกอบของระบบ
1.  ข้อมูล เป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป็นการป้อนวัตถุดิบตลอดจนข้อมูลต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหานั้น
2.  กระบวนการ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.  ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลง รวมถึงการประเมินด้วย
              นอกจากนี้ยังมีข้อมูลป้อนกลับซึ่งเป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมาพิจารณาว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ นั้นให้สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               จากองค์ประกอบและหน้าที่ต่างๆ ของระบบดังกล่าวมาแล้ว จึงจะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
ตัวอย่าง :  ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย
              ข้อมูล :  ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเรียนจบออกมาเป็น "บัณฑิต"
              กระบวนการ :  การลงทะเบียนเรียน การเรียนให้ครบในวิชาและหน่วยกิตที่ได้กำหนดไว้ การสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ
              ผลลัพธ์ :  นักศึกษาสำเร็จตามกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่างๆ ของมหาวิทยาลัยออกมาเป็น "บัณฑิต"
              ข้อมูลป้อนกลับ :  เมื่อบัณฑิตจบออกมาแล้วยังหางานทำไม่ได้หรือทำงานไม่ได้ดีเท่าที่ควรนับเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นำมาวิเคราะห์ถึงทุกขั้นตอนในระบบนั้น เช่น การสอบคัดเลือกได้มาตรฐานหรือไม่ เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับสภาพการทำงานในแต่ละแขนงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งต้องทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่คาดว่ายังบกพร่องอยู่หรืออาจจะมีการปรับปรุงใหม่ทั้งระบบก็ได้
การวิเคราะห์ระบบ (system analysis)
              ความหมาย : การพิสูจน์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ภายในของระบบการพิสูจน์เพื่อหาปัญหาในการออกแบบระบบและการกำหนดหน้าที่ของระบบ (Heinich)
              การวิเคราะห์ระบบเป็นวิธีการวิเคราะห์ระบบใดระบบหนึ่ง โดยมีการคาดหมายและจุดมุ่งหมายที่เป็นการปรับปรุงแก้ไขระบบนั้น โดยการวิเคราะห์นั้นจะแยกแยะปัญหาออกมาให้ได้แล้วกำหนดปัญหาเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษาและหาวิธีการแก้ไข ประจักษ์ เฉิดโฉม(2537)
              การวิเคราะห์ระบบนั้นเป็นการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์ทุกองค์ประกอบทุกๆ ส่วน ฉลองชัย(2545)
               ระบบที่กล่าวมานั้นเป็นระบบและองค์ประกอบในความหมายของระบบใหญ่โดยทั่วไปที่มองอย่างง่าย ๆ แต่แท้ที่จริงแล้วระบบมีความหมายที่กว้างขวางและมีองค์ประกอบย่อยมากไปกว่านั้น เนื่องจากระบบจะเกิดมีขึ้นได้จากผลรวมของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและทำงนร่วมกัน โดยที่ส่วนต่างๆ หรือองค์ประกอบย่อยของระบบนี้อาจจะเป็นระบบย่อยอีกมากมายหลายระบบที่รวมอยู่ในระบบใหญ่นั้น และจะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็โดยทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงของส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่ในส่วนรวมโดยอาจเป็นการให้ผลที่ดีขึ้นหรือเป็นผลในทางตรงข้ามก็ได้ การวิเคราะห์ระบบสามารถแสดงได้ดังนี้คือ


รูปแบบแผนของระบบใหญ่และระบบย่อยที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

            จากรูปของระบบดังกล่าว จะเห็นได้ว่าระบบนั้นประกอบด้วยข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ ตัวระบบซึ่งมีองค์ประกอบย่อย A, B, C และ D จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในทางเดียวกันหรือย้อนกลับไปมาสองทางได้ หรืออาจจะทำงานเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันก็ได้ เมื่อมีการทำงานขึ้นในระบบแล้วก็จะมีผลลัพธ์เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยที่ผลลัพธ์นั้นอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ต่อไปอีกได้ ตัวอย่างเช่น รางกายมนุษย์เป็นระบบใหญ่ระบบหนึ่งซึ่งมีองค์ประกอบเป็นระบบย่อย ๆ ต่างๆ มากมาย ในการที่จะทำให้ร่างกายมนุษย์ดำรงอยู่ได้นั้น ย่อมต้องอาศัยอาหาร น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบร่างกายนั่นเอง เมื่อร่างกายได้รับสิ่งเหล่านี้เข้าไปแล้วก็จะนำไปสู่ระบบต่างๆ เพื่อทำงานตามขั้นตอนของกระบวนการ เช่นอากาศถูกนำไปสู่ระบบการหายใจซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบการฟอกอากาของปอด หรืออาหารและน้ำถูกนำไปสู่ระบบการย่อยอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งผลลัพธ์ก็คือการที่ร่างกายสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพื่อดำรงอยู่ในระบบสังคมต่อไป ถ้าระบบใดระบบหนึ่งในร่างกายมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติ ก็อาจจะไปกระทบกระเทือนกับระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้ เช่น เมื่อสายตาเปลี่ยนเป็นสั้นลงหรือยาวขึ้น ก็ย่อมกระทบกับระบบประสาทอาจทำให้ปวดศีรษะหรือมึนงงได้ดังนี้เป็นต้น
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
1. ปัญหา (identify problem)รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา
2. .จุดมุ่งหมาย(objective)กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหา
              3. ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ(constraints)พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัด ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆในระบบ
4.ทางเลือก(alternative)ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา
5.การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม(Selection)หาทางแก้ปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง
6.การทดลองปฏิบัติ(implementation)ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย
7.การประเมินผล(evaluation)ประเมินหาจุดดีจุดด้อย
              8.การปรับปรุงแก้ไข(modification)ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง นำส่วนดีไปปฏิบัติต่อไป
              การดำเนินงานการสอนครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนและตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนนั้นให้ดีเสียก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการสอน ตลอดจนเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนเพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ผลลัพธ์ คือ การที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าหากว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น โดยอาจจะมีปัญหาในการสอนหรือการที่ผู้เรียนไม่สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ดีเท่าที่ควรก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การจัดระบบการสอนจะมีความหมายสำคัญ 2 ประการ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการสอนและการนำแผนนั้นไปใช้ ได้แก่
              1.  ความหมายแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนการสอนที่มีการจัดให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยที่จุดมุ่งหมายสำคัญของปฏิสัมพันธ์นี้คือ การเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดขึ้นมา
              2. ความหมายที่สองเป็นเรื่องของวิธีการเฉพาะในการออกแบบระบบการสอน โดยจะประกอบด้วยวิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการรวมของการสอนนั้น
ในกระบวนการของการออกแบบการสอน จะต้องประกอบไปด้วยหลักพื้นฐานสำคัญ 4 ประการ คือ
            1.  ผู้เรียน โดยการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
            2.  วัตถุประสงค์ โดยการตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
             3.  วิธีการและกิจกรรม โดยการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้
              4.  การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่
              นอกจากองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทั้ง 4 ประการเหล่านั้นแล้ว ในการออกแบบการสอนยังต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกหลายประการ เพื่อประกอบกันให้เป็นการออกแบบการสอนที่สมบูรณ์


การจัดระบบ
             ระบบ หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรอสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของตนแล้วมาปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบแล้นำสิ่งนั้นมารวมกันเพื่อให้สามารถดำเนินงานบรรลุไปได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
              องค์ประกอบของงานระบบ ต้องมีสิ่งต่างๆ เป็นตัวป้อนเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น "กระบวนการ" เพื่อให้ได้ "ผลลัพธ์" ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
               ระบบใหญ่และระบบย่อย มีความหมายกว้างและมีองค์ประกอบย่อยมาก ผลรวมของส่วนต่าง ๆ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและทำงานรวมกัน อาจเป็นระบบย่อยอีกมากมายหลายระบบที่รวมอยู่ในระบบใหญ่นั้น จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงของส่วนใด ๆ อาจมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่
               การจัดระบบการสอน ที่นิยมมาก คือ "การจัดระบบ" หรือ "วิธีระบบ" นั่นเอง โดยมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหา สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการดำเนินการทดลองอันนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม มี 2 ประการ
1.  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้สอนและเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อเอื้ออำนวย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ดีที่สุด
              2.  เป็นเรื่องของวิธีการเฉพาะในการออกแบบระบบการสอนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีของการสอนในการจัดระบบการสอน อาศัยพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ
1.  ผู้เรียน โดยพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
              2.  วัตถุประสงค์ โดยตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
              3.  วิธีการและกิจกรรม โดยกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้างเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
               4.  การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่
ระบบการสอนของเกอร์ลาช-อีลี่
ในการนำเอาวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรม ได้มีผู้นำมาดำเนินการแล้วทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งระบบของ Gerlach-Ely เป็นวิธีระบบที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป ซึ่ง Gerlach-Ely (อ้างถึงงาน กิดานันท์, 2531 : 70) แบ่งขั้นตอนของ วิธีระบบออกเป็น 10 ขั้นตอน ดังนี้
              1.  การกำหนดวัตถุประสงค์ (specification of objectives) ระบบการสอนนี้ เริ่มต้นการสอนด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนขึ้นมาก่อน โดยควรจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนสามารถวัดหรือสังเกตได้
              2.  การกำหนดเนื้อหา (specification of content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
             3.  การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น (assessment of entry behaviors) เป็นการประเมินผลก่อนการเรียน เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรม และภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้น ๆ ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
             4.  การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน (determination of strategy) การกำหนดกลยุทธเป็นวิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้เรื่องราว เลือกทรัพยากร และกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วิธีการสอนตามกลยุทธ์นี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1.  การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approech) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอน การสอนแบบนี้ได้แก่ การสอนแบบบรรยายหรืออภิปราย ซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด
2.  การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (discovery หรือ inquiry approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียน เป็นการจัดสภาพการณ์เพื่อให้การเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยที่ผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง

             5.  การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (organization of groups) เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอน และเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสม การจัดกลุ่มจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการสอนด้วย
             6.  การกำหนดเวลาเรียน (allocation of time) การกำหนดเวลา หรือการใช้เวลาในการเรียนการสอน จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่ และความสนใจของผู้เรียน
             7.  การจัดสถานที่เรียน (alloction of space) การจัดสถานที่เรียนจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน แต่ในบางครั้งสถานที่เรียนแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละอย่าง ดังนั้นจึงควรมีสถานที่หรือห้องเรียนในลักษณะต่างกัน 3 ขนาด คือ
1.  ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50-300 คน
2.  ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย
3.  ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพัง ซึ่งอาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนรายบุคคล
             8.  การเลือกสรรทรัพยากร (allocation of resources) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียนเพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การเลือกใช้ทรัพยากรหรือสื่อการสอนสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ
1.  สื่อบุคคลและของจริง หมายถึง ผู้สอน ผู้ช่วยสอน วิทยากรพิเศษ หรือของจริงต่าง ๆ เพื่อช่วยในการประกอบการสอน เป็นต้น
2.  วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย เช่น วีดิทัศน์ แผ่นโปร่งใส่ สไลด์ ฟิล็มสตริป ฯลฯ
3.  วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ
4.  สิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร รูปภาพ ฯลฯ
5.  วัสดุที่ใช้แสดง เช่น แผนที่ ลูกโลก ของจำลองต่าง ๆ ฯลฯ
              9.  การประเมิน (evaluation of performance) หมายถึง การประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน อันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลการเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียน และเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของระบบการสอนที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นหลักในการดำเนินงาน
             10.  การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (analysis of feedback) เมื่อขั้นตอนของการประเมินผลเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็จะทำให้ทราบได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ต้องทำการวิเคราะห์ผลหรือย้อนกลับมาพิจารณาว่า ในการดำเนินงานตั้งแต่ต้นนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในระบบ หรือมีปัญหาประการใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
              องค์ประกอบการสอนด้วยวิธีระบบของเกอร์ลาซ-อีลี (Gerlach-Ely) ซึ่งประหยัด จิระวรพงศ์ (2520 : 22-23) ได้จัดการแบ่งวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี ออกเป็น 5 ส่วน คือ
              1.  เนื้อหา เป้าประสงค์ ต่างมีความสำคัญและสำพันธ์กัน โดยเฉพาะเป้าประสงค์ที่เป็นพฤติกรรม ซึ่งสามารถวัดได้เหมาะกับเนื้อหา และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความสามารถในการนำไปใช้ต่อผู้เรียน
              2.  ก่อนที่จะทำการสอนต้องคำนึงถึงพื้นฐาน ความสามารถและความต้องการของผู้เรียนของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อจัดลำดับชั้นการเรียนให้เหมาะสมตามผู้เรียน
              3.  ขั้นการสอน ผู้สอนต้องพิจารณาวิธีการและส่วนประกอบ อันเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนในทุกด้าน เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนดำเนินการไปโดยบรรลุผลเร็วที่สุด
4.  ในการทำผลลัพธ์ต้องใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นไปตามเป้าหมาย
              5.  เป็นการวิเคราะห์ และปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของการเรียนการสอน
              จะเห็นได้ว่าวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ซึ่งนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านนำมาใช้ และนำมาวิเคราะห์ระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี
ระบบการสอนของกลาสเซอร์ (Glasser)
              สงัด อุทรานันท์ (2525 : 10) กล่าวถึงรูปแบบวิธีระบบของ Glasser ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ
1. จุดประสงค์ของการสอน
2. การประเมินสถานะของผู้เรียน
3. การจัดกระบวนการเรียนการสอน
4. การประเมินผลการเรียนการสอน
5. ข้อมูลป้อนกลับ
ระบบการสอนของบราวน์และคณะ (Brown, and Others)
            ระบบการสอนของบราวน์และคณะเป็นระบบการสอนที่จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน โดยการพิจารณาถึงแนวทางและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อที่ผู้สอนจะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน โดยในการออกแบบระบบการสอนนี้ บราวน์และคณะได้ทำการวิเคราะห์ระบบการสอนโดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ในแต่ละหัวข้อจะแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ดังนี้คือ
            จุดมุ่งหมาย (Goals) ในการเรียนการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่จะต้องการให้บรรลุผลสำเร็จ โดยผู้สอนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
              วัตถุประสงค์และเนื้อหา (Objectives and Content) เป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วผู้เรียนจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์อะไรบ้าง ซึ่งจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนแล้วต้องมีการเลือกเนื้อหาบทเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนแล้วสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อผลของการเรียนรู้ที่กำหนดไว้


วิธีระบบของ kemp ที่นำมาใช้ในการเรียน
การสอน ที่มา : สงัด, 2525 : 11
ได้กำหนดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.  กำหนดข้อที่จะสอน และเขียนวัตถุประสงค์ทั่วไป
2.  ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน
3.  ระบุจุดมุ่งหมายของการสอนในเชิงพฤติกรรม
4.  กำหนดเนื้อหาวิชาที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ
5.  ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถก่อนที่จะทำการสอน
6.  เลือกกิจกรรมและแหล่งวิชาการสำหรับการเรียนการสอนเพื่อจะนำเนื้อหาวิชาไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางที่วางไว้
7.  ประสานงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดไว้
8.  ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
9.  พิจารณาดูว่าควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงแผนการเรียนการสอนให้ดีขึ้นอย่างไร
วิธีระบบของ Knirk และ Gentry   ที่มา : สงัด, 2525 : 13
ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบออกเป็น 6 ส่วน คือ
1. การกำหนดเป้าหมาย
2. การวิเคราะห์กิจกรรม
3. การกำหนดกิจกรรม
4. การดำเนินการสอน
5. การประเมินผล
             6. การปรับปรุงแก้ไข
ระบบการสอนของคลอสไมร์และริปเปิล (Klausmeir และ Ripple)

Klausmeir และ Ripple (อ้างถึงใน สงัด, 2525 : 15) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
1.  กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2.  เตรียมความพร้อมของนักเรียน
3.  จัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
4.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5.  ดำเนินการสอน
6.  สัมฤทธิ์ผลของนักเรียน
7.  การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน
อ้างอิง
อ้างอิงจาก
ประจักษ์ เฉิดโฉมและศิษฐ์ วงษ์กมลเศรษฐ์.2537.การวิเคราะห์ระบบ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.กรุงเทพฯ.
http://www.ripb.ac.th/elearn/23 กรกฎาคม 2546

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง   เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี ประการ คือ
          1.
 ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์
          2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
          3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก
          4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด

การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอน คือ
          1.
 รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

          2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

          3. แสดงผลลัพธ์  คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
อ้างอิง